ประวัติ วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง
พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการ พระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าพญาการเมืองโปรดเกล้าให้ สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน
พระธาตุแช่แห้งเป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ ที่เป็นศิลปะ การก่อสร้าง ที่ได้รับอิทธิพล การก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุณไชย โดยมีลักษณะโดยรอบๆ ของ องค์พระธาตุ คือจะมี การบุรอบองค์ ด้วยทองจังโกในส่วน ของทางเดิน ขึ้นสู่งองค์พระธาตุนั้น จะเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าลักษณะของการปั้น จะเป็นลายนาคเกี้ยวที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของ ช่างฝีมือและของ ศิลปะ ของจังหวัดน่านโดยแท้จริง ชาวเมืองล้านนามีความเชื่อกัน ว่าการ ได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชูธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับ อานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น และหากใครที่จะเดินทางได้นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง นั้น สามารถเดินทางไปได้ทุกวัน ซึ่งจะเปิดให้เข้านมัสการตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
สิ่งที่น่าสนใจ
1. วิหารหลวง
อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและ ด้านหลัง 1 ห้อง ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทองเป็นพระประธาน พุทธลักษณะปาง มารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ประทับนั่งบนฐาน เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและ เป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานใน วิหารหลวงจำนวน 2 องค์ปัจจุบัน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่านอีกองค์ ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจาก องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550หน้าบันประตูของวิหารหลวงเป็นปูนปั้นลายนาคเกี่ยวกระหวัดกัน 8 หัว เอกลักษณ์ของศิลปะ เมืองน่าน
2. วิหารพระเจ้าทันใจ
สร้างด้วยคอนกรีตหลังคาไม้มุงด้วย กระเบื้องดิน รูปแบบวิหารโถง ทรงจัตุรมุข กว้าง 11 เมตร ยาว 11เมตร และรอยพระพุทธบาท จำลอง ปัจจุบันบูณณะดูใหม่และงดงามยิ่งขึ้น
3. เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง
องค์กระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุที่มีขนาดสูงถึง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐาน สี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร มีสีเหลืองอร่าม เนื่องจากบุด้วยแผ่นทองเหลือง ลักษณะของเจดีย์ทรง ระฆัง ส่วนฐานทำเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ รองรับฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้า กระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้นองค์ระฆังมีขนาดเล็กบัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลมเป็นกระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยม ตกแต่งคล้ายกลีบบัว หรือลายใบไม้แทนลายดังกล่าวนี้คงได้้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลัง เมื่อล่วงเข้า พุทธศตวรรษที่ 24 แล้ว
4. วิหารพุทธไสยาศน์
อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุแช่แห้ง มีเจดีย์สีขาวศิลปะพม่าเป็นเจดีย์ที่จำลองมาให้ชาวพุทธได้บูชา ชาวบ้าน เรียกว่า พระธาตุเชวาดากองตั้งอยู่ทางซ้ายมือเมื่อเดินขึ้นมาถึงบริเวณล้านด้านหน้าวัดพระธาตุวิหาร ก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือ ทิศใต้
5. บันไดนาค
บันไดนาค 2 ตัว คู่กันซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าพระบรมธาตุซึ่งสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองน่านได้ในบริเวณกว้าง
การเดินทางไปพระบรมธาตุแช่งแห้ง
สำหรับการเดินทางไปท่องเที่ยว นมัสการ วัดพระธาตุแช่แห้ง นั้น สามารถเดินทางได้โดยการใช้เส้นทางหลวง หมายเลข 1168 หรือ จะใช้เส้นทางสายน่าน แม่จริม
コメント